สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ MPOX

อัพเดท: 11 ส.ค. 2023

NSW Health ได้ออกประกาศแจ้งเตือนหลังจากตรวจพบผู้ป่วยโรค MPOX รายใหม่สองรายในรัฐนิวเซาท์เวลส์

ทําให้ยอดผู้ติดเชื้อรวมเพิ่มเป็น 63 ราย นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022

ผู้ติดเชื้อรายล่าสุดได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเดินทางไปต่างประเทศ

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าสถานที่ที่เป็นแหล่งเชื่อมโยงทั่วโลกในปี 2023 อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก รวมถึงในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และจีน

เกย์ ผู้ชายสองเพศและผู้ชายคนอื่น ๆ ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยกันกับผู้ชาย และยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ได้รับการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค MPOX โดยเร็วที่สุด

หากเดินทางไปต่างประเทศโดยเฉพาะไปยังสถานที่ที่เป็นแหล่งเชื่อมโยง ให้คอยระวังความปลอดภัยโดย

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรค MPOX หรือผู้มีอาการของ MPOX
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับวัสดุที่ติดเชื้อ เช่นผ้าปูที่นอนหรือผ้าเช็ดตัว
  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อกับคู่นอน
  • ฝึกการรักษาสุขอนามัยของมือที่ดี

MPOX  คืออะไร?

MPOX (เรียกอีกอย่างว่าไวรัส ‘โรคฝีดาษลิง’) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ทําให้เกิดผื่น ซึ่งแพร่กระจายโดยการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ที่มีเชื้อ MPOX รวมถึงระหว่างมีเพศสัมพันธ์และผ่านเครือข่ายทางเพศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 มีรายงานการติดเชื้อ MPOX จากหลายประเทศที่โดยปกติจะไม่พบ MPOX ผู้ป่วยส่วนมากเป็นผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย

ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับเชื้อในต่างประเทศ มีจำนวนเล็กน้อยได้รับเชื้อในออสเตรเลีย

คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับ mpox จาก ACON ได้ที่นี่

รับวัคซีน MPOX ในรัฐนิวเซาท์เวลส์

เกย์ ผู้ชายสองเพศและผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย (ผู้ที่ไม่ข้ามเพศหรือข้ามเพศ) รวมถึงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายเหล่านี้ รวมถึงผู้หญิง (ผู้ที่ไม่ข้ามเพศหรือข้ามเพศ) และคนที่ไม่คิดว่าตัวเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงและผู้ให้บริการทางเพศมีสิทธิ์ได้รับวัคซีน

จำเป็นต้องฉีดวัคซีนสองเข็ม คนที่ได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียวควรได้รับเข็มที่สองหลังจากเข็มแรกอย่างน้อย 28 วัน

ค้นหาสถานที่ที่คุณสามารถรับวัคซีนผ่าน NSW Health ได้ที่นี่

โรค MPOX มีอาการอย่างไร?

อาการของโรค MPOX ได้แก่ แผลที่ผิวหนัง แผลหรือผื่นควบคู่ไปกับการเป็นไข้ ปวดศีรษะอ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต

ผื่นแผลหรือแผลอาจอยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ยาก เช่น อวัยวะเพศและทวารหนัก แผลในปาก ผื่นแผลหรือแผลอาจอยู่บนใบหน้า แขน หน้าอก หลังและขาอีกด้วย

ผื่นแผลหรือแผลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจดูเหมือนสิว แต่สําหรับคนอื่น ๆ ผื่นหรือแผลอาจมีลักษณะคล้ายแผลพุพอง ผื่นอาจดูเหมือนเริมหรือซิฟิลิส

คนส่วนใหญ่มีอาการใน 1-2 สัปดาห์ แต่ระยะฟักตัว (เวลาจากการติดเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการ) อาจนานถึง 21 วัน

ผู้คนอาจพบอาการเหล่านี้ทั้งหมดหรือเพียงบางอาการ คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ MPOX จะมีผื่นในขณะที่คนอื่นอาจพัฒนาแผลก่อนที่จะพัฒนาอาการเป็นลักษณะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจไม่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เลย

ฉันควรทําอย่างไรหากฉันมีอาการหรือมีการสัมผัสกับ MPOX มาแล้ว?

หากคุณมีอาการใด ๆ หรือมีการสัมผัส MPOX มาแล้ว

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นและไปพบแพทย์ทันที
  • โทรหาแพทย์หรือคลินิกสุขภาพทางเพศในพื้นที่ของคุณทางโทรศัพท์หรือใช้บริการ telehealth
  • โทรไปที่ลิงก์ข้อมูลสุขภาพทางเพศของรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่หมายเลข 1800 451 624

จงจำไว้ว่า

  • ประการแรกอย่าไปที่บริการสุขภาพ ให้โทรไปก่อน
  • หลีกเลี่ยงขนส่งสาธารณะ
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • ปกปิดรอยโรคด้วยเสื้อผ้าหรือปิดแผลไว้ ถามแพทย์หรือคลินิกของคุณว่าควรใช้ผ้าปิดแผลแบบไหน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสในทางเพศกับใครจนกว่าจะได้รับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงการชุมนุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการชุมนุมเหล่านั้นมีการสัมผัสใกล้ชิดแบบเนื้อแนบเนื้อกับผู้อื่น

MPOX แพร่กระจายอย่างไร?

MPOX แตกต่างจากไวรัสอื่น ๆ เช่นCOVID-19 MPOX ไม่แพร่กระจายได้ง่าย ๆ จากคนสู่คน ดังนั้นความเสี่ยงต่อประชากรจึงยังคงอยู่ในระดับต่ำ

MPOX แพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางกายภาพอย่างใกล้ชิดกับคนที่มีอาการ ซึ่งรวมถึงทาง

  • ผื่นที่ผิวหนัง รอยโรคหรือแผลเปื่อย
  • สารคัดหลั่งในร่างกาย (เช่น ของเหลว น้ำหนอง หรือเลือดจากแผลที่ผิวหนัง)
  • สะเก็ด
  • แผล แผลเปื่อยหรือแผลในปาก (หมายถึงไวรัสสามารถแพร่กระจายผ่านการจูบ)
  • แผล แผลเปื่อยหรือแผลในและรอบ ๆ บริเวณทวารหนัก

เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน หรือวัตถุที่สัมผัสกับบุคคลที่เป็นโรค MPOX สามารถทำให้เกิดการความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อต่อไปได้ด้วย

คุณยังสามารถได้รับเชื้อ MPOX ด้วยเมื่อคนที่เป็นโรค MPOX มีอาการของระบบทางเดินหายใจและจามหรือไอแล้วคุณสูดดมละอองที่ติดเชื้อเข้าไป

โรค MPOX ยังอาจถูกส่งต่อกันระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ไม่เป็นที่ทราบว่า MPOX ยังคงอยู่ในน้ำอสุจิและของเสียอื่น ๆ จากอวัยวะเพศได้นานแค่ไหน ผู้ที่หายจากโรค MPOX ควรใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีกิจกรรมทางเพศเป็นเวลาแปดสัปดาห์หลังจากฟื้นตัว

โรค MPOX รักษาได้อย่างไร?

คนส่วนใหญ่เป็นโรค mpox มีอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง ซึ่งหมายความว่าจะหายภายในไม่กี่สัปดาห์โดยไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเฉพาะทาง

มีวิธีการบางอย่างสําหรับการรักษาโรค MPOX โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ฉันมีความเสี่ยงมากขึ้นหรือไม่ หากฉันติดเชื้อเอชไอวี?

หลักฐานเกี่ยวกับโรค MPOX ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีจำนวนจํากัดมาก ส่วนใหญ่มาจากการวิจัยในประเทศที่การเข้าถึงของการรักษาอยู่ในระดับต่ำและผู้คนประสบกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพเชิงลบมากกว่าในออสเตรเลีย

ในขณะนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรปฏิบัติตามคําแนะนําด้านสุขภาพเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป หากมีหลักฐานใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีการจัดข้อมูลและคําแนะนําที่เป็นปัจจุบันให้

หากคุณเพิ่งเดินทางจากต่างประเทศมาออสเตรเลีย

หากคุณเพิ่งเดินทางจากต่างประเทศมาถึงออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเดินทางจากเอเชียตะวันออกหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เฝ้าระวังดูอาการเป็นเวลา 21 วันหลังจากการเดินทางมาถึงของคุณ

ในอดีตเรายังได้เห็นการแพร่เชื้อ MPOX ในนักเดินทางต่างชาติที่เข้าร่วมปาร์ตี้ ปาร์ตี้ทางเพศหรือซาวน่าขณะท่องเที่ยวในยุโรปและอเมริกาเหนือ ดังนั้นหากคุณอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ ให้เฝ้าดูอาการเป็นเวลา 21 วันหลังจากวันที่คุณเดินทางมาถึงออสเตรเลีย

ในช่วงเวลานี้ให้พิจารณาหยุดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะสิ้นสุดระยะฟักตัวของไวรัส

หากคุณมีอาการใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผื่นที่ผิดปกติ รอยโรคหรืออาการเจ็บแสบทางผิวหนัง ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

โทรไปที่ศูนย์ข้อมูลสุขภาพทางเพศของรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่หมายเลข1800 451 624หรือโทรปรึกษาแพทย์หรือคลินิกสุขภาพทางเพศในท้องถิ่นทางโทรศัพท์หรือสายสุขภาพ

หากจําเป็น คุณสามารถโทรติดต่อบริการแปลและล่ามเพื่อช่วยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของออสเตรเลีย (เช่น NSW Sexual Health Infolink) ในภาษาของคุณโดยโทรไปที่ 13 14 50และพูดคุยกับผู้ให้บริการฟรี

ข้อควรจํา: ประการแรกอย่าไปที่บริการสุขภาพ  ให้โทรไปก่อน

หากคุณกําลังวางแผนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ

หากคุณกําลังวางแผนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งสําคัญคือต้องรับทราบข้อมูลและตระหนักถึงการเริ่มเกิดอาการของโรค

  • หากเป็นไปได้ เข้ารับการฉีดวัคซีน ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ที่มีการระบาดของโรค MPOX จะถือว่ามีความเสี่ยงสูงและมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเผื่อเวลาให้เพียงพอในการรับวัคซีนสองเข็มก่อนการเดินทาง
  • ติดตามการแจ้งเตือนด้านสาธารณสุขและคําแนะนําจากหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นของประเทศที่คุณกําลังจะไป
  • ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับกิจกรรม (ก่อนและหลัง) จากผู้จัดงานหากคุณจะไปเยี่ยมชมเทศกาลหรืองานขนาดใหญ่
  • โปรดใช้ความระมัดระวังหากคุณมีแผนที่จะเข้าร่วมปาร์ตี้ทางเพศหรือ SOPV โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่มีการระบุว่ามีผู้ติดเชื้อ MPOX หากเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ ให้พิจารณาใช้วิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
  • ไปที่ WHO เพื่อดูรายชื่อจุดหมายปลายทางล่าสุดที่ได้รับ ผลกระทบ
  • ไปที่ Smart Traveller เพื่อดูการแจ้งเตือนการเดินทาง

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ MPOX ได้ในต่างประเทศ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส รวมถึงการสัมผัสทางเพศกับคนที่ไม่สบายหรือมีอาการของโรค MPOX
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสทางผิวหนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผื่น รอยโรคหรือแผลเปื่อย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเสื้อผ้า ชุดเครื่องนอน หรือวัตถุที่สัมผัสหรือใช้โดยผู้ที่เป็นโรค MPOX
  • ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีเสมอ

หากคุณมีอาการใด ๆ ในต่างประเทศ ให้แยกตัวเองออกมาและไปพบแพทย์ในพื้นที่ทันที

ฉันจะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหน?

นี่คือแหล่งข้อมูลบางส่วน

NSW Health – เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคMPOX

กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย – หน้าข้อมูลเกี่ยวกับโรคMPOX

หน้าองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโรค MPOX – หน้าข้อมูลเกี่ยวกับโรคMPOX

หน้า Smart Traveller เรื่องโรคMPOX

นอกจากนี้คุณยังสามารถโทรไปที่ NSW Sexual Health Infolink ได้ที่ 1800 451 624

NSW Health ได้แผ่นข้อมูลฉบับแปลในภาษาเหล่านี้